16-35mm F2.8 G Master เลนส์ระดับ Master

หากพูดถึงเลนส์จากค่าย Sony  เรามักจะคุ้นหูกับเลนส์ G ตระกูลเลนส์ที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม ต่อมาทาง Sony ก็ได้เข็นเลนส์ตระกูล G Master
ออกมา ซึ่งเป็นเลนส์เกรดพรีเมี่ยมยิ่งกว่าเลนส์ G เดิม
โดยออกแบบมาสำหรับกล้อง Mirrorless แบบ Full Frame
มีประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์สูงมาก ซึ่งเราก็ได้รับตัวเจ้า Sony FE 16-35mm F2.8 G Master หนึ่งในเลนส์ตระกูล
G Master มาลองใช้ ด้วยระยะ 16-35mm
เป็นระยะที่เอาไปถ่ายได้หลายแนวไม่ว่าจะเป็น Portrait, Landscape, Street
แต่สำหรับรีวิวนี้จะเน้นไปทาง Landscape มากกว่า

หลังจากที่ทางโซนี่ได้ส่งเลนส์ตัวนี้มาให้เราทดสอบและรีวิว
แค่เห็นกล่องของมันเราก็รู้สึกตื่นเต้นเสียแล้ว เนื่องจากมันคือเลนส์ G
Master ที่เป็นเลนส์ชั้นดี
และขึ้นชื่อเรื่องให้ความคมชัดและการเก็บรายละเอียดของภาพ ยิ่งกว่านั้น
พอได้นำเลนส์ตัวนี้ไปถ่ายรูปจริงแล้วต้องตกใจเพราะมันสามารถให้ความคมชัดระดับที่ทำให้คิดได้เลยว่านี่เราใช้งานเลนส์ฟิกซ์อยู่รึเปล่า

จุดเด่น

  • เป็นเลนส์ FE-mount สำหรับกล้อง Full Frame
  • ชิ้นเลนส์ Sony XA (Extreme Aspherical)
  • Nano AR Coating
  • ขนาดรู้รับแสงกว้าง F 2.8 ตลอดช่วง
  • ไดอะแฟรม 11 กลีบ
  • ตัวเลนส์สามารถกันน้ำและฝุ่นละอองได้
  • มอเตอร์โฟกัส DDSSM (Direct Drive SSM)

ภายนอก

 ด้านหน้าเลนส์เคลือบฟลูออรีนที่ช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกประเภทของเหลวเกาะติด
วัสดุตัวเลนส์ใช้โลหะทั้งตัว หน้าเลนส์ถูกออกแบบมาให้ใส่ฟิลเตอร์ได้ด้วย

 ด้านข้างมีสัญลักษณ์ G Master ,ปุ่มล็อคโฟกัสที่สามารถเปลี่ยนการทำงานของปุ่มได้ที่กล้อง และ สวิทซ์ AF/MF

เปรียบเทียบกับเลนส์ตัวอื่นๆ

Sony FE 50mm f/1.8 – Sony FE 16-35mm F2.8 G Master – Sony FE 55mm f/1.8 ZA Carl Zeiss Sonnar

ชิ้นเลนส์

เลนส์ XA (Extreme Aspherical) เลนส์ Aspherical กระจก ED
  1. ชิ้นเลนส์ Sony XA (Extreme Aspherical) สองชุดที่มีความแม่นยำพื้นผิว 0.01 ไมครอน ทำให้ได้โบเก้ที่นุ่มนวล และถือเป็นชิ้นเลนส์ที่ผลิตยาก มีราคาสูง
  2. ชิ้นเลนส์ Aspheric ลดการบิดเบือนของภาพ ทำให้ได้ภาพที่คมชัด
  3. ชิ้นเลนส์กระจก ED (Extra-low Dispersion) ช่วยควบคุมความคลาดเคลื่อนของสี และ การกระจายแสง ที่มาของสาเหตุขอบม่วง
  4. Nano AR Coating ช่วยลดแสงสะท้อนระหว่างชิ้นเลนส์ ช่วยลด Flare และการเกิด Ghost

ถึงเลนส์ตัวนี่จะใช้ชิ้นเลนส์ถึง 16 ชิ้นแต่น้ำหนักก็เบากว่าที่คิดไว้มากทีเดียว
สำหรับขอบม่วง ด้วยพลังของชิ้นเลนส์ ED (Extra-low Dispersion) ทำให้มีขอบม่วงน้อยมากลองสังเกตจากภาพด้านล่างก็ได้นะครับ

Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/1250S, ISO 160

 หลังจากนี้จะเป็นการใช้งานเลนส์ครับ

กรุงเทพ

 ที่แรกที่ได้ไปลองใช้เลนส์คือในร้าน Vivo ที่มีพื้นที่แคบ
แต่ก็ได้ความกว้างของเลนส์เข้ามาช่วยทำให้ถ่ายภาพสะดวกมาก
หลังจากถ่ายเรียบร้อยผมก็ไปกินข้าวกันครับ
อย่างที่เห็นในภาพว่าบริเวณไม่ได้กว้างขวางอะไรเลย
แต่ด้วยความกว้างของเลนส์ก็สามารถเก็บได้หมด
หลังจากกินเสร็จก็เลยพามาเดินถ่ายที่ Skywalk แยกปทุมวัน

Sony a7R F/2.8, 16 mm, 1/320S, ISO 80
Sony a7Rii F/2.8, 34 mm, 1/100S, ISO 500
Sony a7Rii F/2.8, 29 mm, 1/100S, ISO 500
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/50S, ISO 500

สำหรับโบเก้สวยๆ หรือ เบลอฉากหลังก็คงจะต้องถ่ายใกล้ๆ วัตถุหน่อย
เนื่องจากเป็นเลนส์ที่ระยะค่อนข้างกว้างและค่า F เองก็ไม่ได้กว้างมากนัก

Sony a7Rii F/2.8, 35 mm, 1/8S, ISO 1000

เขาใหญ่

 ไปต่อกันที่เขาใหญ่ครับ โดยทริปนี้เป็นทริปที่เร่งรีบมาก จัดมาเพื่อรีวิวโดยเฉพาะเลย และผมยังได้เอาเลนส์ FE 70-200 มม. F2.8 G Master OSS มาด้วย ซึ่งจะมีรีวิวออกมาให้ชมกันในอนาคตครับ รูปข้างล่างนี้ถ่ายด้วย FE 70-200 มม. F2.8 G Master OSS นั่นเอง

มาถึงที่พักก็เริ่มตั้งกล้องกันเลย

สำหรับใครที่กลัวน้ำค้างจากการตั้งกล้องถ่ายกลางคืนไม่ต้องห่วงเลยเพราะเลนส์มีการซีลป้องกันฝุ่น ละอองน้ำ และความชื้น ได้ครับ

สำหรับสายล่าดาวและทางช้างเผือก หมดห่วงได้เลยสำหรับเลนส์ตัวนี้เพราะ F กว้างถึง 2.8

Sony a7Rii F/2.8, 22 mm, 10S, ISO 3200
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 10S, ISO 2000
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 10S, ISO 2000
Sony a7R F/2.8, 35 mm, 1/8000S, ISO 400
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 10S, ISO 2000

หัวหิน

ต่อที่หัวหิน ทริปนี้ได้มีโอกาสไปร่วมแจมกับพี่หลาม รายการล้ำหน้าโชว์

Sony a7Rii F/2.8, 27 mm, 1/6400S, ISO 320
Sony a7Rii F/2.8, 34 mm, 1/2000S, ISO 320
Sony a7Rii F/2.8, 22 mm, 1/640S, ISO 1000
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/200S, ISO 500
Sony a7Rii F/2.8, 34 mm, 1/640S, ISO 400

สงขลา

จบด้วยทริปสุดท้ายที่สงขลาครับ รอบนี้มีมอเตอร์ไซค์ สามารถขับวนถ่ายได้รอบเมืองเลย

Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/3200S, ISO 160
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/8000S, ISO 50
Sony a7Rii F/2.8, 35 mm, 1/1250S, ISO 160

สำหรับมอเตอร์โฟกัสแบบ DDSSM (Direct Drive SSM) นั้นเป็นมอเตอร์ที่ตอบสนองเร็ว
และแม่นยำมาก ทำให้โอกาสพลาดช็อตคลื่นเด็ดๆ ก็ลดน้อยลงไปอีก
และยังมีความเงียบไม่ทำให้เลนส์สั่นอีกด้วย

Sony a7Rii F/2.8, 22 mm, 1/500S, ISO 125
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/800S, ISO 125
Sony a7Rii F/2.8, 35 mm, 1/2500S, ISO 320
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/400S, ISO 50
Sony a7Rii F/2.8, 19 mm, 1/400S, ISO 250
Sony a7Rii F/2.8, 35 mm, 1/3200S, ISO 250
Sony a7Rii F/2.8, 27 mm, 1/100S, ISO 640
Sony a7Rii F/2.8, 16 mm, 1/1250S, ISO 125
Sony a7Rii F/2.8, 31 mm, 1/100S, ISO 400

สรุป

จากที่ทดลองใช้มาเป็นระยะเวลาเดือนกว่า ผมขอยกให้ Sony FE 16-35mm F2.8 G Master เป็นเลนส์คุณภาพดีสมราคา น้ำหนักไม่มาก สามารถถือถ่ายเล่นได้สบายๆ ยิ่งถ้าใครใช้ Sony a7R ที่น้ำหนักน้อยอยู่แล้วก็จะมีความสุขกับน้ำหนักรวมมากเลยครับ ขนาดเพื่อนผู้หญิงยังบอกเลยว่า “เบากว่าที่คิดไว้” จุดนี้ถือว่า Sony เก่งมากครับ ทำเลนส์ UltraWide F กว้าง ชิ้นเลนส์ 16 ชิ้น แถมเป็น Full Frame ขนาดใหญ่ออกมาให้มีน้ำหนักเพียง 680 กรัมเท่านั้น

สาเหตุที่ผมใส่ใจเรื่องน้ำหนักมากนั้นก็เพราะผมเป็นคนแขนเล็กครับ
และสำหรับการออกทริปแต่ละครั้งก็มีการแบกอุปกรณ์ไปหลากหลาย
ซึ่งหากของทุกชิ้นน้ำหนักมากก็ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ง่ายนั่นเอง
นี่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผมเลือกใช้กล้อง Sony เลยล่ะ
ซึ่งถ้ารวมน้ำหนักเลนส์ 16-35 กับ Sony a7R ที่ผมใช้จะอยู่ที่ 1.08 กิโลกรัมเท่านั้นเอง แต่ถ้าเป็น Sony a7Rii ก็จะอยู่ที่ 1.30 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย 

สำหรับเลนส์ตัวนี้เอาไปเที่ยวได้สบาย ๆ เลย
จบตัวเดียวยังได้ด้วยขนาดและน้ำหนักที่กำลังดี
มุมมองกว้างพร้อมถ่ายเก็บได้ทั้งคนทั้งวิว ด้วยคุณภาพจากการแปะชื่อ G
Master เป็นประกัน ซึ่งนอกจากจะใช้งานทั่วไปได้ดีแล้ว
ยังสามารถใช้ในการถ่ายรับงานได้สบายๆ เลยล่ะ เพราะโฟกัสได้ไวมาก สำหรับ
Distortion พอใช้ได้ครับมีเห็นชัดบ้างเวลาปรับกว้างสุดและ F กว้างสุด
ส่วนขอบม่วงถือว่ามีน้อยมาก ฉะนั้นใครที่เล็งเลนส์ตัวนี่ ผมแนะนำเลยครับ
ของมันต้องมี

สำหรับรูปแบบเต็มๆ กดไปดูที่นี่ได้เลยครับ https://flic.kr/s/aHsmc3z6zJ