bacidea
มือใหม่เลือกซื้อเครื่องกรองน้ำก็คงจะสับสนอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบ UF, UV, RO รวมไปถึงยี่ห้อที่มีมากมาย แล้วเครื่องกรองน้ำแบบไหนที่เหมาะกับคุณ มาหาคำตอบกัน
ถ้าว่ากันตามตรงแล้ว เครื่องกรองน้ำถูกและแพงมีประสิทธิภาพในการกรองไม่หนีกันเท่าไร เมื่อเทียบในประเภทเดียวกัน เพราะปัจจัยหลักอยู่ที่ไส้กรอง ส่วนเรื่องรสและกลิ่น หลายสำนักก็เคยทดสอบ Blind Test ผลก็คือแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนมาจากรุ่นแพง ดังนั้นในภาพรวมแล้วความต่างระหว่างเครื่องกรองน้ำรุ่นถูกและแพง มีประเด็นดังนี้
นี่ก็คงตอบคำถามเบื้องต้นได้แล้วว่าเราจำเป็นต้องซื้อรุ่นแพงๆ ราคาสูงไหม หรือเอาแค่รุ่นประหยัดเงินก็เพียงพอ
โดยทั่วไปแล้วหากไม่นับเครื่องกรองน้ำสำหรับอุตสาหกรรมแล้ว ประเภทของเครื่องกรองน้ำแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ เครื่องกรองน้ำใช้ และเครื่องกรองน้ำดื่ม โดยจุดต่างหลักอยู่ที่ความละเอียดในการกรอง ซึ่งเครื่องกรองน้ำใช้จะไม่ละเอียดเท่าเครื่องกรองน้ำดื่ม
สิ่งแรกที่ผมอยากแนะนำให้ทำหลังจากซื้อบ้านคือการติดเครื่องกรองน้ำใช้ เพราะในความจริงแล้วน้ำประปาบ้านเรายังไม่สะอาดเท่าที่ควร ซึ่งคราบพวกนี้จะสร้างความเสียหายในระยะยาว เช่น คราบหินปูนตามอ่างล้างหน้า, คราบสีเหลืองในชักโครก, คราบตะกรันตามจานชาม ฯลฯ รวมถึงเครื่องใช้ต่างๆ เช่น เครื่องซักผ้า, เครื่องล้างจาน, กาต้มน้ำ, เครื่องทำกาแฟ ฯลฯ ที่ต้องพังเร็วกว่าที่ควรเพราะการใช้น้ำไม่สะอาดนี่แหละครับ นอกจากนี้เวลาอาบน้ำที่ไม่ผ่านเครื่องกรองน้ำใช้ ก็อาจเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองรวมถึงเป็นสิวได้ง่ายด้วย
นี่คือไส้กรองที่บ้านผมซึ่งอยู่ในกรุงเทพ ที่หลายคนคาดหวังว่าน้ำประปาต้องดีที่สุดแล้ว หลังจากใช้งานมา 2 เดือนจากไส้กรองสีขาวก็กลายเป็นโคลนสีน้ำตาล ซึ่งนี่แหละครับที่จะเข้าไปอยู่ตามเครื่องใช้ในบ้านถ้าเราไม่มีเครื่องกรองน้ำใช้
ตอนที่ยังไม่ติดเครื่องกรองน้ำใช้ ผมรู้สึกได้เลยว่าเวลาอาบน้ำไม่ค่อยสะอาด จะเหนียวตัวหน่อยๆ สระผมเสร็จเส้นผมก็แข็งๆ และฝักบัวก็ตันง่าย แต่พอติดเครื่องกรองน้ำใช้แล้วปัญหาต่างๆ ก็หายไป ดังนั้นไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องกรองน้ำดื่มหรือไม่ แต่สิ่งที่ควรต้องมีคือเครื่องกรองน้ำใช้ครับ
การเลือกเครื่องกรองน้ำใช้ถ้าจะให้ดีต้องเริ่มจากปัญหาก่อนครับ ต้องดูว่าน้ำที่บ้านมีปัญหายังไงบ้าง เช่น มีตะกอนดิน, มีคราบหินปูน, มีกลิ่น ฯลฯ จากนั้นก็ปรึกษากับทางร้านค้า เพื่อเลือกรูปแบบถังและสารกรองที่ต้องใช้ ซึ่งรูปแบบถังที่นิยมใช้ตามบ้านมีอยู่ 2 แบบ
จะเห็นว่าทั้ง 2 รูปแบบมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน ถ้าลงรายละเอียดมากกว่านี้ก็คือแบบกระบอกต้องเปลี่ยนไส้กรองบ่อยก็จริง แต่ไม่มีน้ำเสียทิ้งออกมาข้างนอก ลดปัญหาเศษดินสะสมในท่อระบายน้ำ ในขณะที่ถังแบบไฟเบอร์กลาสจะเปลี่ยนไส้กรองประมาณทุกๆ 1-4 ปี แต่เราก็ต้องมาทำการ Back Wash ( ล้างถัง ) เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง
ซึ่งอันที่จริงแล้วไส้กรองแบบกระบอกก็สามารถทำความสะอาดและนำมาใช้ซ้ำได้แต่ไม่นิยม เนื่องจากประสิทธิภาพในการกรองก็ไม่เท่าเดิม และราคาไส้กรองก็ไม่ได้สูงมากอยู่ที่ราคาหลักร้อยเท่านั้น
หลักการของ Back Wash คือการล้างถังย้อนกลับ โดนนำน้ำสะอาดที่ผ่านการกรองแล้วไหลย้อนกลับมาทำความสะอาดตัวถัง แล้วส่งต่อไปยังท่อน้ำทิ้ง เพื่อให้ถังกรองสะอาดยืดอายุการใช้งาน
อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าถ้าจะให้ดีก็ควรนำปัญหาไปแจ้งกับทางร้าน เพื่อจัดเตรียมสารกรองให้เหมาะสมกับน้ำต้นทาง แต่ภาพรวมแล้วครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้เครื่องกรองน้ำบิ๊กบลู ( Big Blue ) ก็เพียงพอ ไม่ว่าต้นทางจะเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลก็ตาม โดยบิ๊กบลูสามารถกรองได้ละเอียดถึงระดับ 5 ไมครอน โดยใช้ไส้กรอง 3 ชั้นคือ
ราคาโดยประมาณของเครื่องกรองน้ำบิ๊กบลูอยู่ที่ราวๆ 2,500 – 5,000 บาท ข้อดีของบิ๊กบลูคือเป็นเครื่องกรองน้ำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย หาอะไหล่ได้ง่ายทั้งตัวกระบอกและไส้กรอง ไม่ต้องกังวลว่าใช้ไปนานๆ แล้วจะหาอะไหล่ไม่ได้
ถัดมาเป็นเครื่องกรองน้ำแบบไฟเบอร์กลาส ทางร้านขายจะเทสารกรองแต่ละตัวลงไปเป็นชั้นๆ ตามปัญหาน้ำที่คุณแจ้งไว้ ด้วยรูปแบบการเทสารกรองเป็นชั้นๆ แบบนี้จึงอาจไม่เหมาะกับคนทั่วไปในการเปลี่ยนสารเอง แต่ก็มีข้อดีตรงที่สามารถทำ Back Wash ล้างถังได้ง่าย เลยไม่ต้องเปลี่ยนสารกรองบ่อย ราคาถังรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและสารกรองที่ใช้ ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 4,000 – 15,000 บาท
ถ้าถามว่าเครื่องกรองน้ำใช้นำมากินดื่มได้ไหม อันที่จริงแล้วก็ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของเราเลย เพราะมันกรองสิ่งแปลกปลอมเบื้องต้นไปแล้ว จะนำมากินมาดื่มก็ทำได้ครับ แต่ถ้ามีงบและมีพื้นที่มากพอ ผมก็แนะนำให้ติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่มจะดีกว่า
เครื่องกรองน้ำดื่มต่างจากเครื่องกรองน้ำใช้ตรงที่กรองได้ละเอียดกว่า เพื่อให้เหมาะกับการกินการดื่ม ซึ่งเครื่องกรองน้ำดื่มจะมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปอีกพอสมควร โดยจุดต่างคือระดับความบริสุทธิ์ของน้ำ และความยุ่งยากในการติดตั้งและดูแล
หลักการของเครื่องกรองน้ำ ก็คือการให้น้ำไหลผ่านไส้กรองแต่ละชั้น โดยแต่ละชั้นก็จะช่วยกรองสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ออกไป เช่น เศษดิน, ตะกอน, กลิ่น, คลอรีน, หินปูน ซึ่งในภาพรวมแล้วเครื่องกรองน้ำดื่มแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
แต่ถ้าแบ่งแยกย่อยลงไป ก็ยังมีเครื่องกรองน้ำชนิดอื่นๆ ที่อยู่บนพื้นฐานของ UF และ RO เช่น
เครื่องกรองน้ำแบบ UF เหมาะสำหรับการใช้งานของคนส่วนใหญ่ สามารถกรองได้ละเอียดถึงระดับ 0.01 ไมครอน ดูแลติดตั้งและดูแลง่าย ไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยง และไม่มีน้ำทิ้ง การติดตั้งเพียงแค่ต่อท่อน้ำดีเข้ากับเครื่องกรองน้ำ UF และออกไปยังก๊อกน้ำก็พร้อมใช้แล้ว
ส่วนเครื่องกรองน้ำแบบ RO ด้วยความที่กรองได้ละเอียดถึงระดับ 0.0001 ไมครอน ทำให้น้ำไม่สามารถไหลผ่านไส้กรองได้เอง ต้องใช้ปั้มน้ำเข้ามาช่วยดันเลยต้องเสียบปลั้กเพื่อใช้งาน นอกจากนี้ต้องมีท่อสำหรับทิ้งน้ำที่ไม่ผ่านมาตรฐานการกรองด้วย โดยรวมแล้วเครื่องกรองน้ำแบบ RO จะมีน้ำที่ไหลช้ากว่า UF เลยนิยมต่อเข้ากับถังเก็บน้ำอีกที
ถ้ายังนึกไม่ออกว่าตัวไหนจะถูกใจ ลองนึกถึงเรื่องรสชาติก็ได้ครับ บางคนใช้วิธีเลือกแบบนี้ ถ้าชอบน้ำดื่มสิงห์ให้เลือก UF ถ้าชอบน้ำดื่มสปริงเคิลให้เลือก RO
เนื่องจากเครื่องกรองน้ำดื่มมีตัวเลือกหลายยี่ห้อและหลายรุ่นมากๆ ดังนั้นผมจะหยิบเฉพาะตัวที่เด่นๆ และน่าสนใจมาบอกเล่าเป็นข้อมูลเบื้องต้นนะครับ
ตัวแรกเป็นแบรนด์ Coway น้องใหม่ที่มาทำตลาดในไทย มีจุดเด่นเรื่องบริการหลังการขาย โดยเป็นเครื่องกรองน้ำระบบ RO แบบจ่ายรายเดือน ผ่านมาตรฐานด้านองค์กรที่เกี่ยวกับน้ำทั้ง NSF และ WQA เริ่มต้นเดือนละ 490 บาท ซึ่งบางคนก็มองว่าแพง แต่บางคนก็มองว่าสะดวกดี เวลาอะไรเสียหรือถึงรอบต้องเปลี่ยนไส้กรองก็มีคนดูแลให้ เหมาะกับคนที่ต้องการจ่ายแล้วจบ มีหน้าที่จ่ายและใช้ ส่วนการดูแลตัวเครื่องเป็นหน้าที่ของทางทีมช่าง
ถ้าไม่อยากจ่ายเงินก้อนใหญ่ ไม่ต้องวุ่นวายกับการเปลี่ยนไส้กรองและการดูแลตัวเครื่อง การเลือก Coway ก็อาจเหมาะกับคุณ
ถัดมาคือเครื่องกรองน้ำแอมเวย์ที่หลายคนต้องเคยผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง เพราะเป็นแบรนด์ที่อยู่คู่คนไทยมานาน มีตัวแทนขายเยอะ แต่เดี๋ยวนี้เพิ่มความสะดวกสามารถกดสั่งซื้อออนไลน์ได้เลย เหมาะกับคนที่อยากได้สินค้าแต่ไม่อยากปวดหัวกับตัวแทนขาย
เครื่องกรองน้ำ eSpring ( อีสปริง ) ของแอมเวย์จัดอยู่ในกลุ่ม UV ที่เคลมว่ามียอดขายอันดับ 1 ของไทยและของโลก ชูจุดเด่นเรื่องการกรองน้ำได้สะอาดในขณะที่ยังคงเก็บแร่ธาตุสารอาหารไว้ได้ ผ่านมาตรฐานด้านองค์กรที่เกี่ยวกับน้ำทั้ง NSF และ WQA
ถ้าคุณชอบสินค้าแอมเวย์ แต่ไม่อยากให้ตัวแทนขายมาวุ่นวายชีวิต ไม่อยากโดนเชียร์นั่นนี่เพิ่ม ก็สามารถซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ตามลิ้งที่เราให้ไว้ได้เลย
MAXSTREAM ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีขนาดกระทัดรัดสามารถติดตั้งใต้ชุดครัวได้ เป็นเครื่องกรองน้ำแบบ Nano ซึ่งกรองได้ละเอียดเกือบเท่า RO แต่ไม่มีน้ำทิ้งและไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ผ่านมาตรฐาน NSF เหมาะสำหรับเปิดร้านอาหารและร้านเครื่องดื่ม เช่น ร้านกาแฟ
แม้จะออกแบบมาเจาะกลุ่มร้านค้า แต่ที่จริงแล้วก็เหมาะกับการใช้ในครอบครัวขนาดใหญ่ ที่มีการใช้น้ำดื่มปริมาณมาก
ถ้าอยู่คอนโดที่มีพื้นที่จำกัด หรืออยู่หอพักซึ่งเราแก้ไขระบบประปาเองไม่ได้ อีกตัวเลือกที่น่าสนใจคือเครื่องกรองน้ำติดหัวก๊อก โดย Philips รุ่น AWP3704 และ AWP3703 ใช้ไส้กรองแบบ GAC ( Granular Activated Carbon ) เป็นไส้กรองคาร์บอนแบบเกร็ด กรองได้เฉพาะตะกอนและคลอรีน
แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพในการกรองสูงขึ้นก็ต้องขยับไปเป็น AWP3752 ที่ใช้ไส้กรองแบบ ACF + UF โดย ACF ( Activate Carbon Fiber ) เป็นคาร์บอนที่ประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อทำงานร่วมกับระบบ UF แล้วทำให้กรองได้ทั้งตะกอน คลอรีน แบคทีเรีย และไมโครพลาสติก
สุดท้ายเป็นเครื่องกรองราคาประหยัด แต่ได้คุณภาพระดับ Nano ที่เป็นรอง RO ไม่มากนัก แต่ไม่ต้องเสียบปลั๊กและไม่ต้องมีท่อน้ำทิ้ง ใช้งานได้สะดวก และเป็นดีไซน์ที่หาไส้กรองเปลี่ยนได้ง่าย ประหยัดค่าดูแล ตัวไส้กรองก็ผ่านมาตรฐาน NSF ไม่ต่างจากรุ่นชื่อดังทั้งหลาย
เครื่องกรองในลักษณะนี้เป็นที่นิยมอยู่ไม่น้อย เพราะลงตัวทั้งเรื่องราคา ความสะอาด และการดูแลรักษาตัวเครื่อง
มีหลายเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องกรองน้ำที่คนอยากรู้ และหลายคนก็เข้าใจผิด เช่น
ถ้าอ่านทั้งหมดแล้วยังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกตัวไหน ผมจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมครับ
ท้ายที่สุด เลือกแบบที่เราชอบ ที่เหมาะกับเราครับ