โฉมหน้าระบบนิเวศการชำระของเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมหาศาลในตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีใหม่ ๆ ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนวิธีการชำระด้วยเงินสดเป็นระบบดิจิทัล และเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ และความสามารถของผู้บริโภคในการจ่ายและรับเงินไปอย่างสิ้นเชิง
ความคาดหวังของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นตัวเร่งให้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลมีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น อาทิ แพลตฟอร์มการสมัครสมาชิก การค้าออนไลน์และโซเชียลคอมเมิร์ซ และบริการด้านการเงินแบบ on-demand
“ในปี 2567 นี้ จังหวะของการเปลี่ยนแปลงยังจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการชำระเงินในระบบดิจิทัลต่อไปเพราะทั้งผู้บริโภค และภาคธุรกิจต่างมองหาวิธีการชำระและรับชำระที่รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และไร้รอยต่อ ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเราคาดหวังว่าโซลูชันใหม่ ๆ จะถือกำเนิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น”
ปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย
1. การชำระไม่ใช่แค่เรื่องของวิธีการ แต่สำคัญที่เมื่อไร
เมื่อผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับการชำระแบบดิจิทัล ความสำเร็จจึงไม่ใช่เพียงแค่หาโซลูชันที่ตรงตามที่ผู้บริโภคต้องการ แต่สำคัญที่การนำเสนอโซลูชันนั้น ๆ ให้กับลูกค้าต้องเกิดขึ้นในเวลาที่ใช่ สิ่งนี้เป็นเสน่ห์ของการเงินแบบฝังตัว (embedded finance) คือการผสานบริการด้านการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม ปัจจุบันแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสามารถเสนอขายประกันแก่ผู้ซื้อที่จุดชำระเงิน ขณะที่บริการ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ยังช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งการชำระเป็นงวดได้โดยไม่ต้องออกจากหน้าเว็บ หรือแอปชอปปิง
คล้ายคลึงกับเรื่องราวของดิจิทัลวอลเล็ตที่ทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรชำระเงินต่าง ๆ ง่ายดายขึ้นผ่านการชำระแบบดิจิทัล และโซลูชัน Mobile-as-a-Service (MaaS) ที่ผนวกการชำระเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถวางแผน จองตั๋ว และจ่ายค่าโดยสารการเดินทางได้ในที่เดียว
โอกาสในลักษณะนี้ยังปรากฏให้เห็นในการชำระแบบ B2B โดยวีซ่าและบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจอย่าง BCG พบว่า ภายในปี 2568 การเงินแบบฝังตัวจะสร้างโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า 242 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่ผู้ให้บริการด้านการเงินทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB)
2. โฉมหน้าการชำระเงินแบบ B2B จะถูกปรับให้เข้ากับผู้บริโภคยิ่งขึ้น
อีกไม่นานจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พลิกโฉมโลกธุรกิจเมื่อคลื่นลูกใหม่ของผู้นำเจน Z และมิลเลนเนียลก้าวขึ้นมามีบทบาท พวกเขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลที่ใช้งานง่าย และความคาดหวังของพวกเขานั่นเองที่ช่วยผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการการชำระเงิน B2B ให้มีโฉมหน้าและฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่ายต่อการใช้งานของผู้บริโภคยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับก่อนหน้านี้ที่ออกแบบมาสำหรับองค์กรธุรกิจเท่านั่น
มีสองพลังสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ อย่างแรกคือการทำงานร่วมกัน ระบบที่ต่างกันจะสามารถทำงานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อได้มากน้อยเพียงใด มันจำเป็นต้องมีนักพัฒนา ธุรกิจ และภาครัฐ มาร่วมมือกันและใช้งานการเชื่อมต่อโปรแกรมประยุกต์ APIs แบบเปิดที่สามารถรองรับวิธีการชำระแบบต่าง ๆ ได้ในแพลตฟอร์มเดียว เช่นเดียวกับองค์กรในเอเชียแปซิฟิกที่อีกไม่นานจะสามารถชำระเงินอย่างไร้รอยต่อบนแพลตฟอร์ม SAP ด้วยบัตรวีซ่าเพื่อธุรกิจ โดยไม่ต้องยุ่งยากกับวิธีการชำระเงินหรือออกจากระบบอีกต่อไป
พลังอย่างที่สอง คือ ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นต่อโซลูชันการชำระเงินแบบ B2B ที่สามารถทำได้หลายอย่างในแพลตฟอร์มเดียว แพลตฟอร์มเหล่านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กเพราะ รวบรวมบริการต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน อาทิ การชำระเงิน การกู้ยืม และการจัดการใบแจ้งหนี้ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานด้านการเงินที่สำคัญให้จบได้ในอินเตอร์เฟซเดียว
3. ความเสี่ยงมีให้เห็นบ่อยขึ้น แต่จับพิรุธได้ยากขึ้น
การชำระเงินแบบดิจิทัลที่เติบโตขึ้นในเอเชียแปซิฟิกส่งผลให้อาชญากรรมทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ระบบ Generative AI ที่สร้างขึ้นบนโมเดลภาษาขนาดใหญ่เริ่มเลียนแบบการตอบสนองที่เหมือนมนุษย์ได้เนียนขึ้น และมิจฉาชีพสามารถใช้ความสามารถของมันไปสร้างอีเมลหลอกลวง และข้อความหลอกลวงแบบฟิชชิ่งโดยการใช้ภาษาที่ดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับพิรุธได้ยากขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของการฉ้อโกงระบุตัวตน การยึดครองบัญชี และรูปแบบการโกงแบบ “ได้คืบจะเอาศอก” ที่นักต้มตุ๋นมักใช้ล่อเหยื่อด้วยการจ่ายเงินจำนวนไม่มากนักเพื่อซื้อใจเหยื่อ นอกจากนี้ธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีความเชื่อมต่อกันมากขึ้น ความสุ่มเสี่ยงต่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย
ปัจจุบันวิธีการฉ้อโกงใหม่ ๆ มีหลายร้อยเล่มเกวียน ทำให้วิธีการเดิม ๆ ในการตรวจจับและป้องกันนั้นไม่เพียงพอ ข่าวดีก็คือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เร่งเครื่องเพื่อตามกลโกงเหล่านี้ให้ทัน เทคโนโลยี Machine learning (ML) และ โซลูชัน AI อย่าง Visa’s Advanced Authorisation (ViAA) ของวีซ่า สามารถขจัดความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการทำธุรกรรมได้โดยการตรวจจับความผิดปกติและภัยคุกคามอย่างรวดเร็วแบบเรียลไทม์ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ไม่มีทรัพยากรในการจัดการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง
ข่าวดีอีกเรื่องคือการยอมรับการชำระด้วยบัตรเวอร์ชวล (virtual card) ซึ่งเป็นบัตรที่ใช้งานได้เหมือนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระเงินทั่ว ๆ ไปในกระเป๋าสตางค์ของคุณ แต่ใช้หมายเลขบัตรแบบใช้ครั้งเดียวและจํากัดเวลาในการชำระเงินแต่ละครั้ง ซึ่งสิ่งที่ทำให้บัตรเวอร์ชวลแตกต่างจากบัตรทั่วไปคือมันมาพร้อมกับ Dynamic CVV2 (dCVV2)
บนบัตรพลาสติกเพื่อการชำระแบบมาตรฐานทั่วไปจะมีตัวเลข CVV2 จำนวน 3 หลักพิมพ์ลงบนด้านหลังของบัตร หากตัวเลขดังกล่าวถูกมิจฉาชีพล่วงรู้ ก็จะสามารถใช้บัตรและนำเลขกลับมาใช้ใหม่เพื่อทำธุรกรรมที่ฉ้อโกงได้ แต่ด้วย Dynamic CVV2 ค่าตัวเลขจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด โดยระหว่างการชำระเงินออนไลน์ผู้ถือบัตรจะกรอกเลข Dynamic CVV2 (dCVV2) ปัจจุบัน แล้วหลังจากนั้นระบบ VisaNet จะทำการตรวจสอบรหัสด้วยฟังก์ชันการตรวจสอบสิทธิ์ dCVV2 Authenticate เพื่อยืนยันตัวตน โดยเทคโนโลยี dCVV2 นอกจากจะช่วยป้องกันการใช้ซ้ำของบัตรที่ถูกมิจฉาชีพล้วงข้อมูลแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันการโจรกรรมและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องก้บการฉ้อโกงต่าง ๆ ได้อีกด้วย
4. ธุรกิจ SMB มองไปยังอนาคต แต่ต้องการตัวช่วยสู่ความสำเร็จ
ในปี 2567 และปีต่อ ๆ ไป ภาคธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMB) ในเอเชียแปซิฟิกจะยังประสบกับความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ การเปลี่ยนผ่านสู่ความเป็นดิจิทัลได้สร้างการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจแบบเท่าเทียม ที่เจ้าของธุรกิจรายย่อยก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลกได้
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจใหม่ และธุรกิจ SMB เหล่านี้ในภาคอื่น ๆ อาจต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญ ด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องรับเอาเทคโนโลยีที่ฉลาดและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้นมาใช้งานด้วยเช่นกัน
หมายความว่า SMB จะช่างเลือกมากขึ้นในการยอมรับโซลูชันการชำระเงินในปี 2567 นี้ พวกเขาต้องการการชำระเงินแบบดิจิทัลที่สะดวก เชื่อถือได้ และไร้รอยต่อ ควบคู่ไปกับการขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศเติบโตขึ้น ส่งผลให้ SMB จะให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ช่วยให้พวกเขาสามารถเข้าถึงลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้นเป็นอันดับแรก
“โซลูชันการชำระเงินที่ใช้งานได้จริงและเหมาะกับทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ คือ บัตรเวอร์ชวล ซึ่งบัตรเวอร์ชวลเพื่อธุรกิจไม่จำเป็นต้องผลิต ถือเป็นความคุ้มทุนเพราะผู้ประกอบการสามารถขอบัตรเวอร์ชวลได้มากตามที่ต้องการ และลูกจ้างไม่จำเป็นต้องรอให้บัตรพลาสติกจัดส่งมาให้ บัตรเวอร์ชวลยังสามารถตั้งค่าได้อย่างรวดเร็วและกำหนดวงเงินได้ตามต้องการ ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับธุรกิจ SME เพราะการชำระเงินไม่จำเป็นต้องรวมที่ศูนย์กลางและลูกจ้างสามารถทำการชำระได้อย่างอิสระ ขณะที่บริษัทยังคงควบคุมกระแสเงินสดได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย” ปุณณมาศ กล่าวเสริม
นอกจากนี้เรายังจะเห็นธุรกิจ SMB หันไปหาแหล่งเงินทุนที่คล่องตัวและยืดหยุ่นกันมากขึ้น เช่น บัตรที่เหมาะกับความต้องการของธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่มีความยืดหยุ่น
เมื่อนวัตกรรมและการพัฒนาการชำระเงินยังคงขับเคลื่อนต่อไปในเอเชียแปซิฟิก สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือระบบนิเวศการชำระจะต้องอยู่ต้นแถว เพราะความรวดเร็ว สะดวกสบาย และปลอดภัย ถือเป็นเรื่องสำคัญ เราหวังจะได้ทำงานร่วมกันทั่วทั้งระบบนิเวศทางการเงินเพื่อสร้างโซลูชันใหม่ ๆ ที่จะช่วยพัฒนาภูมิทัศน์ของเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน