ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนหลายยี่ห้อได้ตัดช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. ออก ทำให้หลายคนหมดสิทธิ์ใช้หูฟังมีสายสุดโปรดของตัวเอง วันนี้ NuaNia จะมารีวิวอุปกรณ์ที่จะทำให้ทุกท่านได้ใช้หูฟังตัวโปรดอีกครั้ง โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้คือ Bluetooth DAC/AMP นั่นเอง
DAC/AMP คืออุปกรณ์สำหรับถอดรหัสสัญญาณดิจิตอลจากมือถือเป็นสัญญาณเสียงและขับออกมาเป็นเสียงให้เราได้ยินผ่านหูฟัง ปกติชิ้นส่วนเหล่านี้จะมีในโทรศัพท์มือถือของเราแล้ว แต่หลายคนที่ต้องการอัปเกรดคุณภาพเสียงให้ดีขึ้นก็จะซื้ออุปกรณ์เข้าตัวนี้ที่คุณภาพดีๆ มาต่อแยก โดยปกติมักจะเชื่อมต่อกับมือถือทางช่อง USB ซึ่งมีข้อเสียคือทำให้เราไม่สามารถชาร์จไฟมือถือระหว่างใช้งานได้ แต่สำหรับของ FiiO ที่เราจะนำมารีวิวทั้ง 3 รุ่นจะเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth แทน ทำให้เราสามารถใช้ช่อง USB ได้ตามปกติ
การใช้งาน Bluetooth DAC/AMP นั้นง่ายดายมาก เพียงเสียบหูฟังที่เราใช้เข้ากับตัวมันและเชื่อมต่อ Bluetooth เข้ากับมือถือ เสียงก็จะออกที่หูฟังเหมือนเราใช้งานหูฟัง Bluetooth เลย โดยทั้ง 3 รุ่นที่เราจะมารีวิวในครั้งนี้คือ FiiO BTR1, FiiO μBTR และ FiiO BTR3
Fiio BTR1
ตัวนี้เป็นรุ่นแรกของตระกูลที่ออกมาก่อนตัวอื่นๆ จุดเด่นคือใช้ชิปเสียงคุณภาพดีในราคาที่จับต้องได้ วัสดุดี มีไมโครโฟนในตัวทำให้ใช้คุยโทรศัพท์ได้ด้วย
บอดี้เป็นโลหะผสมกับพลาสติกบางส่วน รองรับ Bluetooth 4.2 ชิปเสียง AK4376 และชิป Bluetooth รองรับ Bluetooth Codec สูงสุด AptX
ให้เสียงที่ดีกว่าการต่อหูฟังผ่านช่องหูฟัง 3.5 มม. ในมือถือหลายๆ รุ่นเสียอีก
อุปกรณ์ในกล่องนอกจากตัว FiiO BTR1 จะมีสาย microUSB แบบสายสั้นสำหรับชาร์จไฟและสายสำหรับคล้องคอมาให้ด้วย โดยคล้องกับรูคล้องสายที่ด้านหลัง
FiiO BTR1 มาพร้อมไมโครโฟนสำหรับสนทนาในตัว สามารถให้คุยโทรศัพท์ได้เลย ปุ่มควบคุมมีทั้งหมด 3 ปุ่ม คือ
- ปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง สามารถใช้ในการข้ามหรือย้อนกลับเวลาฟังเพลงได้ด้วย
- ปุ่มเอนกประสงค์ ใช้เป็นปุ่มเปิด/ปิด รับสาย/วางสาย และใช้ในการเปิด/ปิดฟีเจอร์ปรับแต่งเสียง ด้วย
สำหรับฟีเจอร์ปรับแต่งเสียง สามารถเปิดได้โดยการกดปุ่มตรงกลาง 2 ครั้ง จะเป็นการจำลองเสียงรอบทิศทาง ซึ่งเหมาะสำหรับการดูหนังมากกว่าฟังเพลง ใครใช้ฟังเพลงไม่แนะนำให้เปิดฟีเจอร์นี้
แบตเตอรี่อยู่ได้นานประมาณ 6 ชม. ใช้เวลาชาร์จไฟไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เวลาแบตเตอรี่ใกล้หมดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและมีเสียงเตือนในหูฟัง การชาร์จไฟทำได้ผ่านช่อง microUSB โดยเสียบกับที่ชาร์จมือถือได้เลย
ข้อสังเกตสำหรับรุ่นนี้คือเวลาไม่เปิดเพลงจะมีเสียงหวี่ออกมาตลอดเวลา ซึ่งปัญหานี้ทาง FiiO แจ้งว่าสามารถแก้ได้ด้วยการลดเสียงที่ตัว Bluetooth ลงจนเสียงหวี่หายไป และไปเพิ่มเสียงที่มือถือแทน
FiiO μBTR
ตัวนี้เป็นรุ่นประหยัด มีการลดสเปคหลายอย่างลงจาก BTR1 แต่สเปคบางด้านก็ดีขึ้นเช่นกัน การเปลี่ยนปลงหลักๆ คือเปลี่ยนพอร์ตชาร์จเป็นพอร์ต USB type-C และสามารถกดปุ่มเรียกผู้ช่วยอัจฉริยะในมือถือได้ (Siri/Google Assistant) และมี NFC ที่เพิ่มความสะดวกในการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนที่มี NFC เช่นกัน เพียงแค่เอาอุปกรณ์มาสัมผัสกันเท่านั้น
FiiO μBTR เปลี่ยนมาใช้การดีไซน์แบบใหม่ที่ดูโมเดิร์นขึ้น ตัวเครื่องเป็นสีขาวทั้งตัว วัสดุเปลี่ยนมาใช้พลาสติกทั้งหมดทำให้น้ำหนักเบาลงจากเดิม ตัวหนีบปกเสื้อถูกปรับปรุงใหม่ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น จากของรุ่น BTR1 ที่ค่อนข้างแข็ง และมักจะทำให้เราไปเผลอกดปุ่มสั่งงาน
ปุ่มควบคุมยังมี 3 ปุ่มเหมือนเดิม
แต่เพิ่มความสามารถของปุ่มอเนกประสงค์ให้สามารถเรียกใช้งานผู้ช่วยอัจฉริยะ
(Siri/Google Assistant) ได้ด้วย
ด้านเสียง FiiO uBTR ได้ลดสเปคทางด้านเสียงลง ทำให้เสียงสู้ BTR1 ไม่ได้ และไม่มีฟีเจอร์ปรับแต่งเสียง แต่ได้แก้ปัญหาเสียงหวี่เวลาไม่ได้เปิดเพลงแล้ว และยังมีไมค์สนทนาเหมือนเดิมแบตเตอรี่สามารถใช้งานได้ใกล้เคยง FiiO BTR1
FiiO BTR3
รุ่นท็อปตัวใหม่ล่าสุดที่พัฒนาต่อจาก FiiO BTR1 ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเดิม พร้อมฟีเจอร์ที่ครบครันแบบ FiiO μBTR
FiiO BTR3 ใช้วัสดุเป็นโลหะ ด้านหน้าครอบด้วยกระจก 2.5D
สีดำทั้งตัว หน้าตาดูหรูหราและทันสมัยกว่าเดิม
คลิปหนีบปกเสื้อถูกออกแบบใหม่ให้ใช้งานง่ายขี้น มี NFC ช่วยในการเชื่อมต่อ ข้อสังเกตสำหรับรุ่นนี้คือช่องเสียบหูฟังถูกย้ายมาด้านล่างข้างช่องชาร์จ สำหรับคนที่เคยใช้รุ่นอื่นๆ มาก่อนอาจต้องปรับตัวกับจุดนี้นิดนึง
ด้านระบบเสียงได้ถูกปรับปรุงใหม่ให้ดีกว่าเดิม แก้ปัญหาเรื่องเสียงหวี่เวลาไม่ได้เปิดเพลงแล้ว เปลี่ยนมาใช้ชิป Bluetooth Qualcom CR8675 ที่มีจุดเด่นคือรองรับ Bluetooth Codec ที่ครบครันโดยสังเกต Bluetooth Codec ที่เชื่อมต่ออยู่ได้จากสีไฟที่ตัวหนังสือ FiiO ด้านแรงขับถูกปรับปรุงให้มากกว่าเดิม และเพิ่มความจุแบตเตอรี่ทำให้ใช้งานได้นานขึ้น
Bluetooth Codec ที่รองรับ
- SBC
- AAC
- AptX
- AptX Low Latency
- AptX HD
- LDAC
- HWA
พอร์ตชาร์จเปลี่ยนจาก micro USB มาเป็น USB Type-C นอกจากนั้นยังสามารถหาสาย USB-C to C มาเชื่อมต่อเพื่อใช้ FiiO BTR3 เป็นแอมป์แบบมีสายได้ด้วย ซึ่งจะให้เสียงที่ดีและเสถียรกว่าใช้งานแบบไร้สาย
ด้านปุ่มควบคุม รุ่นนี้ได้แยกปุ่ม Power ออกมาต่างหาก ทำให้สามารถเข้าโหมด Pair ได้โดยไม่จำเป็นต้องปิดเปิด Bluetooth ใหม่ทุกครั้ง
ราคา
สรุป แต่ละรุ่นเหมาะกับใคร
- FiiO BTR1 : เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุณภาพเสียงในงบที่จำกัด ความสะดวกสบายในการใช้งานอาจจะน้อยกว่ารุ่นอื่น แต่เรื่องเสียงถือว่าทำได้ดีมากๆ เมื่อเทียบกับราคา
- FiiO μBTR เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานหูฟังมีสายกับมือถือที่ไม่มีช่องเสียบหูฟัง คุณภาพเสียงอาจจะสู้รุ่นอื่นไม่ได้ แต่ฟีเจอร์ต่างๆ ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นไมโครโฟนสนทนา ปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง เปลี่ยนเพลง รับ/วางสายได้ มี NFC ช่วยในการเชื่อมต่อ และพอร์ตชาร์จ USB Type-C
- FiiO BTR3 : เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการที่สุดทั้งด้านเสียงและฟีเจอร์ เป็นการรวม μBTR และ BTR1 เข้าด้วยกัน และปรับปรุงให้ดีขึ้นไปอีกขึั้น
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสั่งซื้อได้ทาง SE-UPDATE