ในงาน IFA 2016 ที่ผ่านมานั้น SONY ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ 2 รุ่นคือ Xperia X Compact และ Xperia XZ โดยที่ Xperia X Compact นั้นก็ได้สานต่อตระกูล Compact ของ SONY ต่อจาก Z5 Compact หลังจากที่ยุบตระกูล Xperia Z ไป ส่วน Xperia XZ นั้นก็กลายเป็นเรือธงตัวใหม่ของค่าย SONY แทน Xperia Z5
แล้วแบบนี้ X Performance คืออะไรถ้า XZ คือเรือธงของค่าย??? |
ก่อนจะเข้าสู่รีวิวขอเท้าความซักเล็กน้อย หลังจากที่ Xperia XZ เปิดตัวมาแล้วนั้นทางเว็บไซต์ Androidpit ก็ได้ไปสัมภาษณ์คุณ
Don Mesa รองประธานฝ่ายการตลาดของ Sony
อเมริกาเพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสมาร์ทโฟนตระกูล Xperia X
โดยได้พูดถึงการที่มีสมาร์ทโฟนประสิทธิภาพสูงที่ใช้ Snapdragon 820 ถึง 2
รุ่น สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมากว่าทำมาทำไมแล้วถ้า Xperia XZ
คือเรือธงที่แท้จริงแล้ว Xperia X Performance คืออะไร?
“ก็ปกติ Sony ออกสมาร์ทโฟนเรือธงทุก ๆ 6 เดือนอยู่แล้วนี่” ชาวอารยธรรมหลายคนคงจะคิดแบบนี้
ตอนแรกผมเองก็คิดแบบนั้นจนกระทั้งนึกขึ้นได้ว่าเคยได้ยินข่าวที่ Sony
บอกเอาไว้ว่าจะลดจำนวนเรือธงให้เหลือเพียงปีละ 1 รุ่น
(ซึ่งพูดมาหลายรอบแล้วแต่ก็ทำไม่ได้ซักที) กับมีคนที่ทำงานกับทาง Sony
บอกกับผมตอนที่เขียนรีวิว Xperia X Performance ว่า
X Performance ยังไม่ใช่เรือธงตัวจริง
และคำตอบของบทสัมภาษณ์ที่ผมพูดถึงข้างต้นนั้นก็ได้ทำให้รู้ว่า XZ
คือเรือธงตัวจริงอย่างแน่นอน โดยที่ Sony
ตั้งธงในการดีไซน์สมาร์ทโฟนรุ่นนี้ไว้เลยว่ามันคือเรือธง ส่วน X
จะเป็นรุ่นมาตรฐานและ X Performance เป็นรุ่นพรีเมี่ยมของ X อีกทีนึง
ส่วนที่มาของชื่อ XZ นั้นคุณ Mesa บอกไว้ว่ามันเป็นการผสมผสานระหว่างตระกูล
X กับตระกูล Z
จากข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดข้างบนนั้นทำให้ผมสรุปได้ตามนี้
- Xperia XA – เป็นสมาร์ทโฟนราคาประหยัด
- Xperia XA Ultra – เป็นสมาร์ทโฟนจอใหญ่ เน้นถ่ายรูป Selfie
- Xperia X Compact – เป็นสมาร์ทโฟนขนาดเล็ก
ใช้ชิปเซ็ต Snapdragon
650 ซึ่งในปัจจุบันแทบจะไม่มีบริษัทไหนทำสมาร์ทโฟนที่มีขนาดจอต่ำกว่า 4.7
นิ้วแล้ว - Xperia X – เป็นสมาร์ทโฟนที่ทาง Sony เอาไว้เน้นยอดขาย ใช้ชิปเซ็ต Snapdragon 650 เหมือนกับ X Compact
- Xperia X Performance –
เป็นรุ่นที่แรงขึ้นโดยใช้ Chipset ที่แรงที่สุดในปีนี้
มีความพรีเมี่ยมมากขึ้นโดยยังคงมีพื้นฐานจากรุ่น X (คล้าย ๆ
กับการ์ดจอที่มี Ti ต่อท้ายของ Nvidia) - Xperia XZ – เป็นเรือธงตัวจริงของค่าย
ทำให้ผมคิดว่าเราอาจจะได้เห็น Xperia X1 กับ X1 Performance ในงาน Mobile World Congress ที่จัดช่วงต้นปีหน้า
และ Xperia X1 Compact กับ XZ1 ในงาน IFA ช่วงไตรมาสที่ 3 (ซึ่งทาง Sony
เคยใช้ชื่อ Xperia X1 มาครั้งหนึ่งแล้วสมัยที่ยังเป็น Sony Ericsson)
อารัมภบทไปซะยืดยาว ได้เวลาอันสมควรแล้วที่เราจะเริ่มรีวิว Xperia XZ กันซักที
Specifications
- มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Google Android 6.0.1 ครอบทับด้วย Xperia UI
- ชิปเซ็ต Qualcomm Snapdragon 820
- RAM 3 GB LPDDR4
- หน่วยความจำภายใน 64GB (สำหรับรุ่นซิมคู่)
- รองรับ การ์ด microSD สูงสุดถึง 256 GB
- หน้าจอขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1080p) จอแสดงผล TRILUMINOS สำหรับมือถือและกลไกภาพ X-Reality สำหรับมือถือ
- กระจกหน้าจอ Corning Gorilla Glass 4
- กล้องหลังความละเอียด 23 ล้านพิกเซล เซนเซอร์ Exmor RS ขนาด 1/2.3”
มาพร้อมระบบกันสั่นขณะถ่ายวิดีโอ SteadyShot 5 แกน
บันทึกวิดีโอได้ที่ความละเอียดสูงสุด 4K และ Triple Image Sensing
ที่ช่วยประมวลผลภาพให้ออกมาดีมากขึ้น - กล้องด้านหน้าความละเอียด 13 ล้านพิกเซล
- ลำโพงคู่สเตอริโอ รองรับระบบเสียง Hi-res Audio,
เทคโนโลยีการเข้ารหัสเสียงความละเอียดสูง LDAC และระบบปรับแต่งเสียง DSEE
HX กับ Clear Audio+ - สามารถบันทึกเสียงแบบสเตอริโอได้
- มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
- กันฝุ่นกันน้ำมาตรฐาน IP65/IP68
- ระบบเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 4.2 และ NFC
- รองรับ 2 ซิมแบบนาโนซิม ระบบ Dual SIM Stand-by
- แบตเตอรี่ 2900 mAh มาพร้อมกับ Qucik Charge 3.0 และ Qnovo Adaptive Charging
Unbox
หลังจากที่ยุบสมาร์ทโฟน Xperia แต่ละตระกูลเข้ามาเป็น Xperia X
แล้วดีไซน์ของกล่องก็ถูกทำออกมาใหม่ทั้งหมดด้วย
โดยเลิกการทำกล่องขนาดใหญ่แล้วมีรูปผลิตภัณฑ์แปะเอาไว้มาเป็นกล่องแข็งขนาดกระทัดรัดแล้วใส่ชื่อรุ่นกับยี่ห้อตามสมัยนิยม
คำว่า Xperia สะท้อนเล่นกับแสงได้อย่างสวยงามและถ้าสังเกตดูดี ๆ
จะเห็นรูปตัว X จาง ๆ พาดอยู่บนกล่องด้วย
โดยรวมแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากกล่องของ Xperia X และ X Performance นอกจากชื่อรุ่นที่ถูกติดไว้บริเวณขอบฝากล่อง
ถ้ามองจากด้านบนจะไม่สามารถแยกได้เลยว่ากล่องไหนเป็นของรุ่นอะไร
โดยแต่ละด้านจะเป็นลวดลายและสีแต่ละแบบต่างกันออกไป
ซึ่งลวดลายทั้งหมดนี้มาจาก Wallpaper ที่ติดมากับเครื่อง
(กล่องด้านซ้ายเป็น X Performance และกล่องด้านขวาเป็น XZ)
Materials & Design
หลังจากที่ Sony ได้เปลี่ยนมาใช้อลูมิเนียมในการทำฝาหลังใน Xperia X และ X
Performance แทนกระจกที่ใช้ในตระกูล Z มาในรุ่น Xperia XZ
ก็ได้ทำการยกเครื่องการดีไซน์ใหม่โดยเรียกการดีไซน์นี้ว่า Loop Surface
ซึ่งตัวเครื่องทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะเชื่อมต่อกันผ่านขอบโค้งเป็นปึกแผ่นเดียวกัน ทำให้สมดุลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ขอบด้านบนและด้านล่างตัดแบนเรียบ ทำให้สามารถจับตัวเครื่องตั้งฉากได้
และนอกจากนี้ด้านหลังของตัวเครื่องยังมีการใช้โลหะที่เรียกว่า ALKALEIDO™
ที่ผลิตโดยโรงงานตีเหล็กในเมืองโกเบ
จากการค้นข้อมูลพบว่าเป็นอลูมิเนียมอัลลอยที่มีความเข้มข้นของอลูมิเนียมสูง
มีคุณสมบัติพิเศษคือน้ำหนักเบา ผิวสัมผัสสวยงามและเป็นรอยนิ้วมือยาก
ซึ่งในแต่ละสภาพแสงตัวเครื่องก็จะให้โทนสีต่างกันออกไป
ด้านหน้าของ Xperia XZ จะเป็นกระจกโค้ง 2.5 D และมาพร้อมลำโพงคู่แบบ Stereo
เช่นเคย มีฟีเจอร์ Double tap to wake ที่เคาะจอ 2 ครั้งเพื่อเปิดจอ
มีผู้ใช้บางรายบอกมาว่า Xperia XZ
นั้นเคาะจอติดยากมากและบางทีก็ถึงขั้นไม่ติดเลย
แต่จากการลองใช้งานดูพบว่ามันมีจังหวะในการเคาะของมันซึ่งต้องเว้นช่วงไว้นิดนึงก่อนเคาะรอบที่
2 ซึ่งไม่แน่ใจว่าในส่วนนี้เป็นบั๊กหรือไม่ ต้องรอทาง Sony
ออกมาชี้แจงอีกที
และในรุ่นนี้ก็ได้แก้ปัญหาเรื่องจอติดเองเวลาใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงที่ผู้ใช้
X Performance พบเจอกันอยู่ สำหรับ XZ
นั้นเพียงแค่คุณจับมันคว่ำหัวลงก่อนใส่ในกระเป๋ากางเกง ฟังก์ชั่น Double
tap to wake ก็จะหยุดทำงานทันที
นั้นไฟแจ้งเตือนจะอยู่ในช่องลำโพงด้านบน แต่ในรุ่น XZ
นั้นถูกย้ายตำแหน่งออกมาไว้ทางด้านซ้ายสุดแทน ตามด้วย NFC กล้องหน้า ลำโพง
และ เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ตามลำดับ
Android Beam ส่งข้อมูลก็ต้องทำท่าทางที่พิศดารหน่อยตามภาพที่เห็นด้านบน =
=”
ส่วนด้านหลังนั้นก็จะมีแค่คำว่า Xperia
อยู่ตรงบริเวณกึ่งกลางเครื่องแทนที่คำว่า Sony ฝาหลังเป็นวัสดุที่เรียกว่า
ALKALEIDO™
ส่วนแถบด้านล่างนั้นจะเป็นพลาสติกซึ่งน่าจะเอาไว้เป็นจุดรับส่งสัญญาณ
เลนส์กล้องจะมีกระจกป้องกันรอยขีดข่วนไว้อีกชั้น
แต่เดิมนั้นบริเวณใต้เลนส์กล้องจะมีแค่แฟลชเพียงดวงเดียว แต่สำหรับ XZ
นั้นมีบางสิ่งบางอย่างเพิ่มเติมเข้ามาซึ่งเดี๋ยวจะพูดถึงอีกทีในหัวข้อ
Camera ต้องขอบอกเลยว่าสิ่งนี้จะทำให้กล้องของ Xperia เจ๋งขึ้นมากกว่าเดิม
ขอบของตัวเครื่องนั้นเป็น Polycarbonate
ขอบด้านบนของเครื่องนั้นก็จะมีไมโครโฟนและช่องหูฟัง 3.5 มม.
น่าเสียดายที่บางบริษัทไม่เห็นคุณค่าของสิ่งนี้เลยตัดทิ้งออกไปอย่างไม่ใยดี
T_T
ขอบด้านล่างนั้นจะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนากับพอร์ต USB ซึ่งเปลี่ยนเป็นแบบ Type-C แล้ว
ซึ่งข้อดีของพอร์ตแบบนี้คือทำให้เสียบด้านไหนก็ได้ ไม่ต้องเล็งให้เสียเวลา
พอเสียบเข้ากับตัวเครื่องแล้วแน่นใช้ได้ ไม่โยกเยกไปมาเหมือนพอร์ตแบบเก่า ๆ
ขอบเครื่องด้านขวาไล่จากทางด้านซ้ายมาก็จะเป็นปุ่มชัตเตอร์ ปุ่ม Volume
กับปุ่ม Power ที่ทำหน้าที่สแกนลายนิ้วมือได้ด้วย
ปุ่มชัตเตอร์สามารถกดค้างไว้แล้วเข้าสู่กล้องได้ทันทีด้วย
หลายคนบ่นว่าจะเว้นพื้นที่ด้านล่างไว้ทำไมเยอะแยะ
การเว้นเอาไว้ทำให้สามารถจับด้วยมือเดียวแล้วกดปุ่มชัตเตอร์ได้สะดวกมากขึ้นและจากเดิมในรุ่น
X Performance
นั้นปุ่มชัตเตอร์ค่อนข้างแข็งซึ่งอาจทำให้มือสั่นเวลากดถ่ายได้ แต่ใน XZ
นั้นปุ่มทำมากำลังพอดี ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไปและยังเป็นปุ่มแบบ 2
จังหวะเช่นเคยคือกดเบา ๆ เพื่อโฟกัสและกดให้สุดเพื่อถ่ายภาพ
ส่วนทางด้านซ้ายนั้นไม่มีอะไรนอกจากช่องใส่ซิม
และแน่นอนว่าถ้าดึงออกมาเครื่องก็จะทำการรีสตาร์ทตัวเองหนึ่งรอบโดยทันที
ช่องใส่ซิมเป็น Hybrid Slotสามารถเลือกใส่ 2 ซิมหรือจะใส่ 1 ซิมกับ microSD
card ก็ได้
Xperia XZ มีด้วยกันทั้งหมด 4 สีได้แก่
- Mineral Black : ได้แรงบันดาลใจจากโทนสีวอร์มเอิร์ธ
- Platinum : ได้แรงบันดาลใจจากแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์กับผิวน้ำ
- Forest Blue : ได้แรงบันดาลใจจากบริเวณที่ผืนป่าบรรจบกับผืนน้ำ
- Sazanka Pink : ได้แรงบันดาลใจจากแสงแดดที่สะท้อนหยดน้ำค้างบนดอกซึบากิ
Software
หน้า Lock screen เดิมนั้นจะเป็นสีเดียวเรียบ ๆ โทนเดียวกันกับสีตัวเครื่อง
ตัวเลขนาฬิกาบนหน้า Lock screen
เป็นแบบโปร่งแสงมองทะลุเห็นวอลเปเปอร์ของหน้า Home screen ได้
แต่ถ้าเปลี่ยนวอลเปเปอร์เป็นแบบอื่นตัวเลขก็จะกลายเป็นแบบทึบแสงทันที
Official theme ที่มากับเครื่องมีทั้งหมด 4 แบบตามแต่ละสีของตัวเครื่อง
ไล่จากซ้ายไปขวาคือ Mineral Black, Forest Blue, Sazanka Pink และ Platinum
Xperia Home เวอร์ชั่นที่มากับ Xperia XZ
นั้นสามารถตั้งค่าให้หน้าซ้ายสุดเป็น Google Now ได้เหมือนกับ Google Now
Launcher กับ Pixel Launcher ได้ โดยรวมแล้ว Launcher
ไม่ได้มีอะไรหวือหวามากนัก แต่ก็มีฟีเจอร์ Double-Tap to sleep มาให้
ปรับแต่งหน้า Home screen ได้ด้วยการกดที่ว่างบนหน้า Home ค้างไว้
สามารถเพิ่ม Widget เปลี่ยนวอลเปเปอร์ เปลี่ยนธีม และตั้งค่าต่าง ๆ
เกี่ยวกับหน้า Home screen ได้
แถบ Status Bar ลากลงมาหนึ่งครั้งจะเป็น Notification ต่าง ๆ ถ้าลากต่อลงมาจะเป็น Quick Setting ซึ่งในส่วนนี้สามารถปรับแต่งได้
หน้าการตั้งค่าต่าง ๆ ดูใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก เป็นมิตรต่อผู้บริโภค
แต่ถ้าใครเคยใช้สมาร์ทโฟนพวก Pure Android
มาก็จะพบว่าการเรียงตำแหน่งเหมือนกันเป๊ะ ๆ เปลี่ยนไปแค่ไอคอนเท่านั้น
ตั้งแต่เปลี่ยนเป็นตระกูล X มา Sony ก็ได้ใส่ Smart Cleaner
หรือระบบกำจัดไฟล์ขยะมาให้ด้วยในตัว
ซึ่งก็ถือว่าทำงานได้ดีในระดับนึงและไม่ลบไฟล์ออกจากเครื่องแบบสุ่มสี่สุ่มห้า
ส่วนการบริโภค Ram นั้นสามารถเลือกได้ว่าให้แสดงผลในรอบ 3, 6, 12 หรือ 24
ชั่วโมง และที่น่าสงสัยเช่นเคยคือทำไม Android Systemถึงใช้พื้นที่ไปมากถึง
13.59 GBทั้ง ๆ ที่ตัว Software ก็ไม่ได้มีอะไรมาก
Xperia XZ มาพร้อมกับ Android เวอร์ชั่น 6.0.1 (Marshmallow)
การใช้งานลื่นไหลดีไม่มีปัญหาตามแบบฉบับ Sony แต่ที่น่าติงคืออัพเดต
Security patch ช้ามาก ล่าสุดเห็นว่า XZ ได้ Security patch
เป็นเดือนล่าสุดแล้วซึ่งไม่แน่ใจว่าจะอัพให้แบบนี้ตลอดเลยหรือไม่
สำหรับสาวกตระกูล Z ที่ย้ายมาใช้ตระกูล X ก็ถึงเวลาที่จะต้องบอกลา Xperia
Keyboard เพราะตอนนี้ Sony ใช้ SwiftKey
เป็นคีย์บอร์ดติดเครื่องสำหรับตระกูล X ไปเรียบร้อยแล้ว
อาจจะต้องมีการปรับตัวซักนิดเพราะวิธีการเรียงคีย์ภาษาไทยนั้นเรียงไม่เหมือน
Xperia Keyboard (จริง ๆ แล้ว Xperia keyboard
นั่นแหละที่เรียงคีย์ไม่เหมือนคนอื่น)
จากการใช้งานก็ค่อนข้างประทับใจเพราะระบบเดาคำถือว่าฉลาดพอสมควร
Fingerprint
ตำแหน่งของตัวสแกนลายนิ้วมือนั้นจะอยู่บริเวณขอบด้านขวาของตัวเครื่องซึ่งต่างจากยี่ห้ออื่น
ๆ ที่มักจะใส่ไว้ในปุ่ม Home หรือบริเวณด้านหลัง สำหรับ Xperia
นั้นจะใส่ตัวสแกนลายนิ้วมือรวมไว้ด้วยกันกับปุ่ม Power
ทำให้สามารถกดเปิดเครื่องและปลดล็อคหน้าจอไปพร้อม ๆ กัน
สามารถตั้งค่าให้จดจำลายนิ้วมือได้สูงสุด 5 นิ้ว
ความเร็วในการปลดล็อคนั้นก็รวดเร็วดีแต่ถ้ามือเปียกก็จะสแกนไม่ติดในบางครั้ง
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ตั้งค่าให้สแกนลายนิ้วมือหรือใส่รหัสไว้ก็สามารถแตะที่สแกนเพื่อเข้าสู่หน้า
Home ได้
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ลายนิ้วมือแทนการใส่รหัสเพื่อจ่ายเงินเพื่อซื้อของบน
Play Store และสามารถตั้งค่าให้กดปุ่ม Power 2 ครั้งเพื่อเปิดกล้องได้ด้วย
ถ้าใช้งานเครื่องด้วยมือขวาก็สามารถใช้นิ้วโป้งปลดล็อคได้ |
ถ้าใช้งานเครื่องด้วยมือซ้ายก็ใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางในการปลดล็อค ส่วนเวลาวางไว้บนโต๊ะก็สามารถใช้นิ้วชี้ขวาปลดล็อคได้เช่นกัน |
Performance
การใช้งานทั่ว ๆ
ไปไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงเพราะสเปคที่ให้มาก็ถือว่าพอต่อการใช้งานทั่ว ๆ ไป
การเข้าออกแอพหรือสลับแอพไปมาก็ทำได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการเปิดแอพทิ้งไว้มาก
ๆ นั้นก็ไม่ได้ทำให้เครื่องช้าลงแต่อาจจะมีการโหลดข้อมูลแอพใหม่ในบางครั้ง
ลองโหลดเกมที่กราฟิกหนัก ๆ กินสเปคเครื่องอย่าง GTA Vice City, Asphalt
Xtreme, BADLAND, Unpossible และ Oz: Broken Kingdom มาลองเล่นบน Xperia XZ
ดูก็สามารถเล่นได้ลื่นไหลไม่มีปัญหาอะไร
เป็นเกมที่ทาง Apple เอามาเล่นโชว์บน iPhone 7 ในงาน Keynote
ที่ผ่านมาเพื่อโชว์ประสิทธิภาพของชิป A10 Fusion
ซึ่งตัวเกมนั้นมีกราฟิกที่อลังการงานสร้างและต้องใช้ทรัพยากรเครื่องค่อนข้างสูง
แต่ก็สามารถรันบน Xperia XZ ได้อย่างสบาย ๆ เช่นกัน
ขึ้นมาบ้างแต่ก็ไม่ถึงขั้นร้อนจนเกินไป
ถ้าไม่ได้นั่งเล่นในสภาพอากาศที่ร้อนระอุก็ไม่มีปัญหา
Network
Xperia XZ รองรับ 4G+3G แบบ Dual-standby แต่เนื่องจากไม่มีซิมให้ทดลองเลยยังไม่ได้ลองใช้เครื่องนี้จับสัญญาณ 4G หรือ 3G นะครับ เท่าที่ลองดูก็มีการเชื่อมต่อ Wi-Fi ซึ่งก็สามารถทำได้เป็นอย่างดีแต่จะมีบางครั้งที่ต่อไม่ติดและต้องรีสตาร์ทเครื่องซึ่งตรงส่วนนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นเฉพาะเครื่องที่ได้มารีวิวหรือไม่ ส่วนการจับ GPS ก็มีความแม่นยำพอสมควรและใช้งานภายในอาคารได้สบาย ๆ
Display
ในขณะที่เรือธงเกือบทุกค่ายใช้จอที่มีความละเอียดระดับ 2K แล้ว Sony
กลับยังคงใช้จอที่ความละเอียด Full HD โดยมี Resolution ของจออยู่ที่
1920×1080 พิกเซล แต่โดยส่วนตัวแล้วผมกลับมองว่านี่เป็นเรื่องดีที่ Sony
ไม่บ้าจี้ทำจอ 2K ตามค่ายอื่นเพราะช่วยลดภาระของ Chipset Ram และ Battery
ลงไปได้มาก ถึงแม้จะบอกว่าทำความละเอียดสูง ๆ มาเพื่อรองรับ VR
แต่เท่าที่เคยลองใช้ VR กับ X Performance ที่มีจอขนาด 5
นิ้วมาแล้วก็ให้ภาพที่ออกมาได้ดีเหมือนกันเลยคิดว่าสำหรับ XZ
ก็ไม่น่าจะต่างกันมากหรือที่ไม่ทำจอความละเอียดสูงเพราะ Sony
เองก็ไม่ได้สนใจ VR บนสมาร์ทโฟนเลยเนื่องจากมี PS VR อยู่แล้ว?
จอของ Xperia XZ มีขนาด 5.2 นิ้ว เป็นจอแบบ IPS ที่ใช้เทคโนโลยี
TRILUMINOS™ มาช่วยปรับแต่งโดยที่ทาง SONY เคลมว่าแสดงสีสันได้เยอะกว่าจอ
IPS ทั่วไป ซึ่งสามารถปรับภาพได้ 3 โหมดคือ
- Off : ไม่มีการปรับแต่งภาพ
- X-Reality for mobile : เพิ่ม Contrast ให้ภาพ ปรับให้ดูมีมิติมากขึ้น
- Super-vivid mode : เร่งสีให้ดูสดขึ้น
ส่วนแสงของจอภาพนั้นก็สามารถสู้กับแสงแดดได้ดี ใช้งานกลางแจ้งได้สบาย ๆ เวลาเอียงจอแล้วสีไม่ค่อยเพี้ยนเท่าไหร่
Sound
เรื่องเสียงก็ยังคงเป็นจุดเด่นของสมาร์ทโฟนตระกูล Xperia อยู่เช่นเคย
Xperia XZ รองรับการเล่นเพลงที่ความละเอียดสูงหรือ Hi-Res Audio
รองรับการเล่นไฟล์เสียงอย่างพวก FLAC, ALAC และ DSD อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี DSEE HX
ที่ทำให้ไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัดมีความละเอียดขึ้นมาใกล้เคียงคุณภาพระดับ
Hi-Res เวลาฟังเพลงผ่านหูฟังมีสาย ทดลองฟังเพลงจาก XZ
ผ่านหูฟัง SONY MDR-EX750AP ก็ให้เสียงที่ดีทั้งเสียงนักร้อง เสียงเบส
และเสียงเครื่องดนตรีอื่น ๆ
นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี LDAC ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสำหรับค่าย Sony
ที่ส่งสัญญาณได้สูงสุด 990 kbps
ช่วยให้ความละเอียดของเสียงไม่ตกหล่นเวลาฟังเพลงผ่านหูฟัง Bluetooth
(แต่ก็ต้องใช้หูฟังที่รองรับระบบนี้ด้วยนะ)ลำโพงสเตอริโอคู่ก็ยังคงให้เสียงที่ดีและมีมิติเช่นเคย
เวลาเร่งเสียงดังสุดคุณภาพของเสียงก็ไม่ได้แย่ลงมากแต่เรื่องความดังของลำโพงก็ยังคงเป็นจุดนึงที่พักหลัง
ๆ โดนติงมาเยอะว่าเสียงค่อนข้างเบาเมื่อเทียบกับชาวบ้าน
ถ้าใครได้อ่านพรีวิวที่ผมเขียนลงกลุ่ม Xperia Thailand Club
ไปก็จะเห็นว่าผมบอกเอาไว้ว่าลำโพง XZ ดังขึ้นเล็กน้อย
แต่ด้วยความสงสัยเลยจับมาทดลองในห้องเงียบ ๆ
อีกครั้งนึงไปเลยเพื่อให้รู้ผลเป็นที่แน่ชัดด้วยการเอา X Performance กับ
XZ เร่งเสียงให้สุดแล้วนำมาวางไว้คู่กับ Nexus
4 ที่เปิดแอพวัดความดังของเสียงเอาไว้ จากนั้นทดลองเปิดเพลง PPAP บนแอพ
Spotify ทีละเครื่องและดูค่า Max ที่โชว์บนจอของ Nexus 4 ในแต่ละรอบ
X Performance ค่า Max อยู่ที่ 79 dB
XZ ค่า Max ก็อยู่ที่ 79 dB เช่นกัน
ได้อีกด้วย และไม่ใช่เฉพาะไมค์ที่ติดมากับตัวเครื่องเท่านั้น
ใช้ไมค์เสริมก็สามารถอัดแบบสเตอริโอได้ไม่มีปัญหาอะไร
ไม่ได้ทำการติดตั้งแอพบันทึกเสียงมาให้จากโรงงาน สามารถโหลดแอพ Audio
Recorder ของทาง Sony เองได้ที่นี่
Camera
ถึงแม้ว่า Sony จากใช้เซ็นเซอร์ IMX 300 ตัวเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ Xperia Z5
แต่ตอนนี้ก็ได้รับการเสริมประสิทธิภาพด้วย Triple Image Sensing ที่มีทั้ง
Predictive Hybrid Autofocus
ที่คาดเดาการเคลื่อนไหวของวัตถุไม่ให้หลุดโฟกัส,
เซ็นเซอร์โฟกัสอัตโนมัติแบบเลเซอร์ที่ช่วยวัดระยะห่างระหว่างกล้องกับวัตถุให้แม่นยำขึ้นในที่แสงน้อย
และเซ็นเซอร์ RGBC-IR ที่ทำให้สีออกมาสมจริง
ไล่โทนสีให้เป็นธรรมชาติและปรับ White Balance ให้ถูกต้อง
ซึ่งตรงนี้เป็นจุดอ่อนของ Sony ในรุ่นก่อน ๆ และได้รับการแก้ไขใน Xperia XZ
เรียบร้อย
หนึ่งในฟีเจอร์เด่น ๆ ที่ Sony นำมาโปรโมทก็คือ Predictive Hybrid
Autofocus ที่จะคอยติดตามและคาดเดาทิศทางของวัตถุที่อยู่ในกรอบสีเหลือง ๆ
ตามภาพ ถ้านึกไม่ออกว่าทำงานยังไงมีคลิปมาให้ชมครับ
โดยส่วนตัวผมค่อนข้างประทับใจกับฟีเจอร์นี้นะ
เพราะถ้าล็อควัตถุที่เราโฟกัสอยู่ในกรอบได้เมื่อไหร่มันจะถ่ายได้ไวขึ้นด้วย
และความฉลาดอีกอย่างนึงคือถึงวัตถุจะหลุดเฟรมไปในช่วงสั้น ๆ
แต่ก็ยังกลับมาโฟกัสใหม่ได้เมื่อวัตถุชิ้นเดิมเคลื่อนที่กลับเข้ามา
ตัวอย่างภาพถ่ายรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง |
สำหรับระบบติดตามวัตถุนั้นถ้าเปิดใช้งานก็จะไม่สามารถแตะเพื่อปรับแสงที่บริเวณจุดโฟกัสได้
ถ้าต้องการปรับแสงในบริเวณจุดที่โฟกัสหรือไม่ต้องการใช้งานในส่วนนั้นเวลาถ่ายวัตถุที่หยุดนิ่งหรือภาพวิวก็ปิดใช้งานได้
นำมาเสริมประสิทธิภาพให้กับกล้องก็คือเซ็นเซอร์ RGBC-IR
กับเซ็นเซอร์โฟกัสแบบเลเซอร์ซึ่งต้องบอกว่าเจ้าสิ่งนี้ทำให้กล้องของ Xperia
XZ เจ๋งมากขึ้นไปอีก (เคยสังเกตเห็นตอนกลางคืนตรงวงกลมขาว ๆ
มันสว่างขึ้นมาได้ด้วยนะ)
ทดลองถ่ายรูปด้วยการเอานิ้วปิดเซ็นเซอร์ (ซ้าย) กับถ่ายตามปกติ (ขวา) ผลลัพธ์ที่ออกมานั้นต่างกันอย่างเห็นได้ชัดพอสมควร |
เหมือนกัน สังเกตบริเวณขอบภาพ รายละเอียดของหญ้า และการไล่โทนสีบนกำแพงที่
XZ ถ่ายออกมาแล้วดูสมจริงกว่า ดูเหมือนปัญหาเรื่องขอบภาพยืดที่เกิดจากเลนส์
Wide จะถูกแก้แล้ว
ถ่ายภาพตอนกลางคืนออกมาไม่ค่อยดีนั้นก็ได้ถูกปรับปรุงใน XZ เรียบร้อย
ทดลองถ่ายในที่แสงน้อยมาก ๆ เทียบกับ X Performance
ก็เห็นความต่างอย่างเห็นได้ชัด
ด้วยการเปิดให้ปรับความเร็วชัตเตอร์กับระยะโฟกัสได้แล้ว
โดยสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ตั้งแต่ 1/4000 จนถึง 1 วินาที
แต่ในขณะที่ปรับความเร็วชัตเตอร์นั้นก็จะไม่สามารถปรับ ISO
ได้เองและถ้าไปปรับ ISO เมื่อไหร่ความเร็วชัตเตอร์ก็จะเด้งเข้าโหมด Auto
ทันที
ซึ่งตรงส่วนนี้เข้าใจว่าไม่ต้องการให้ผู้ใช้เจอเหตุการณ์ที่ปรับความเร็วชัตเตอร์สูง
ISO
ต่ำแล้วภาพออกมามืดมองอะไรไม่เห็นหรือในทางตรงกันข้ามคือปรับความเร็วชัตเตอร์สูง
ISO สูงจนภาพออกมาขาวโพลนทั้งภาพและที่ล็อกความเร็วชัตเตอร์ไว้สูงสุดที่
1/4000 วินาทีก็เพราะว่าถ้าเร็วกว่านั้นอาจทำให้ภาพยืดได้
ส่วนที่ล็อคไม่ให้นานเกิน 1
วินาทีนั้นอาจเป็นเพราะความเร็วที่พอจะถ่ายได้ไหวโดยไม่ใช้ขาตั้ง
นั้นก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะ Android 7.0 beta ที่ทาง Sony เปิดให้ทดสอบบน X
Performance นั้นก็มีโหมด M เหมือนกับ XZ เช่นกัน > <
รุ่นนี้ถ่ายมาโครได้ดีกว่ารุ่นก่อนด้วย
สามารถทำ Bokeh เล็ก ๆ ได้ด้วยนะ |
เพราะปรับความเร็วชัตเตอร์ได้ 1 วินาทีก็ทำได้แค่นี้แหละ
แต่ก็เพียงพอที่จะเอาไปถ่ายพวกเล่นควงกระบองไฟหรือทำตัวอักษรจากแสงไฟ
อันนั้นถ่ายได้สบาย ๆ
ได้ที่ความละเอียดเกิน 8 MP แล้วนะ แต่พวก Scene selection
ก็ยังสามารถใช้ได้แค่ที่ความละเอียดไม่เกิน 8 MP อยู่ดี
ปัญหาการถ่ายรูปเสร็จแล้วเซฟนานเกินไปจนหมุนหลายรอบใน Xperia Z5
นั้นก็ได้ถูกแก้เรียบร้อยแล้ว
สามารถถ่ายภาพได้ต่อเนื่องทันทีหลังจากถ่ายก่อนหน้าแรกเสร็
ทดลองซูม 5 เท่าจากภาพข้างบน |
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหน้า |
ตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องหน้าในที่แสงน้อย |
Video
สำหรับ Xperia นั้นขึ้นชื่อเรื่องการถ่ายวิดีโออยู่แล้ว ระบบ SteadyShot บน
Xperia XZ นั้นก็ได้รับการอัพเกรดขึ้นไปอีกขั้นเป็นกันสั่นแบบ EIS 5 แกน
(เมื่อเปิดโหมด Intelligent active) และทำงานร่วมกับ Triple Image Sensing
ด้วยจึงทำให้การถ่ายวิดีโอนั้นมีสีที่ตรงกับตาเห็นและ White Balance
ที่ดีขึ้น
สำหรับกล้องหน้านั้นก็มีระบบกันสั่นแบบเดียวกับกล้องหลังเช่นกัน
ทดลองถ่ายวิดีโอกล้องหน้าขณะเดินขึ้นสะพานลอยในที่แสงน้อยก็ถือว่านิ่งใช้ได้ การถ่ายวิดีโอก็เป็นจุดแข็งจุดนึงของ
Xperia ที่ทำออกมาได้ดีแบบเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
อ้อ ขอแสดงความยินดีกับท่านที่ซื้อ XZ ด้วยครับ ตอนนี้ Sony
กลับมาถ่ายวิดีโอ 4K ได้แล้ว!หลังจากที่ถอดออกไปใน X Performance
ซึ่งคนที่ซื้อมาอย่างผมก็ได้แต่ตั้งคำถามที่ไร้ซึ่งคำตอบว่า
Battery
แต่สำหรับสายฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ก็ไม่ต้องกังวลไป
ทางเราได้ทำการทดสอบโดยการชาร์จแบตให้เต็มแล้วรีสตาร์ทเครื่องหนึ่งที
จากนั้นเปิดโหมด Cruise ในเกม Unpossible (เป็นเกมแนว
Racing มีกราฟิกสวยงามและกินแบตพอสมควร) ให้มันเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเรื่อย
ๆ
และทิ้งเอาไว้จนแบตหมดเกลี้ยงก่อนตื่นขึ้นมาดูผลตอนเช้าซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาตามข้างล่างนี้ครับ
จะเห็นได้ว่าเกมปิดตัวลงเมื่อผ่านไป 4 ชั่วโมงกับอีก 1
นาทีอาจจะเป็นเพราะว่า Ram
เต็มหรือเครื่องมีความร้อนและถ้าสังเกตจากการใช้พลังงานจากหน้าจอก็จะพบว่าเปิดไว้ได้ราว
ๆ เกือบ 5 ชั่วโมงเลยทีเดียว
หลังจากที่ปล่อยให้แบตหมดเกลี้ยงก็ลองจับเวลาชาร์จจาก 0-100% ใช้เวลาราว ๆ 2
ชั่วโมงครึ่งในการชาร์จให้เต็มอีกครั้ง แต่ในเวลาปกติที่แบตเหลือสัก
20-30% แล้วค่อยชาร์จก็ไม่ได้ใช้เวลาชาร์จนานขนาดนี้ ระบบ Quick Charge 3.0
ชาร์จได้รวดเร็วช่วงก่อน 60%
และด้วยอานิสงค์จากพอร์ตแบบ Type-C ทำให้ Xperia XZ
สามารถจ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์อื่นได้ด้วย แต่แบต 2,900 mAh
ก็คงไม่เหมาะที่จะเอาไปจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์อื่นสักเท่าไหร่
และก็ยังมีฟีเจอร์ใหม่เกี่ยวกับแบตเพิ่มเข้ามา นั่นก็คือ Battery Care
ที่จะคอยสังเกตเวลาตอนเสียบชาร์จและการถอดสายชาร์จของเราและนำไปคำนวณไม่ให้แบตเพิ่มขึ้นมากกว่า
90%
ระหว่างชาร์จเพื่อลดแรงดันกระแสไฟจนก่อนถึงเวลาที่จะถอดสายชาร์จก็จะปล่อยให้ไฟเข้าเต็มที่
100 %
เพื่อยืดอายุแบตเตอรี่ให้ยาวนาน สำหรับคนที่ชาร์จไม่เป็นเวลาก็สามารถปิดฟีเจอร์นี้ได้
ส่วนโหมด STAMINA กับ Ultra STAMINA
ก็ยังคงอยู่พร้อมหน้ากันเช่นเคยและสามารถปรับระดับการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย
(แต่ประสิทธิภาพก็จะลดลงไปตามลำดับ) ตรงส่วนนี้ไม่ขอบรรยายอะไรมาก
เอาเป็นว่ามันอึด ถึก และโคตรอยู่ได้นาน
แต่ระหว่างเปิดไว้อาจจะมีปัญหาการเชื่อมต่อเน็ตบ้างในบางครั้งเพราะมันจะคอยตัดเน็ตเวลาที่ไม่ได้มีการรับส่งข้อมูลซึ่งเป็นเรื่องปกติของโหมดนี้
ส่วน Ultra STAMINA นั้นจะใช้ได้แค่แอพพื้นฐานที่มากับเครื่องเท่านั้น
ถ้าทำการยกเลิกโหมดนี้เครื่องจะทำการรีบูทตัวเองหนึ่งรอบ
Overall
รอบนี้ถือว่า Sony ตั้งราคา Xperia XZ ได้ดีมาก ด้วยราคา 23,990
บาทกับความสามารถและฟีเจอร์ที่ได้รับผมถือว่าโอเคนะ
มีการปรับปรุงข้อด้อยในหลาย ๆ เรื่องจากรุ่นก่อนหน้านี้เยอะพอสมควร
และช่วงนี้ผมว่าเป็นโอกาสทองของ Sony เองด้วยเพราะเจ้าตลาดอย่าง Samsung
ก็ได้ยุติการวางจำหน่าย Galaxy Note 7 ไปเรียบร้อยแล้วและลากขาย Galaxy S7
ต่อไปเนื่องจากยังหาสาเหตุของการระเบิดไม่ได้ (ขอแสดงความเสียใจมา ณ
ที่นี้ด้วยครับ) HTC 10 ที่สาวกหลาย ๆ คนต่างรอคอย
(ด้วยความหวังอันน้อยนิด) ก็ยังไม่มีท่าทีจะวางจำหน่าย
ตอนนี้ก็จะเหลือคู่แข่งในเซกเมนต์เดียวกันและราคาใกล้เคียงกันอย่าง
- Huawei Mate 9 ที่มีลูกเล่นดี ๆ เพียบกับกล้องคู่รุ่นอัพเกรดที่ได้ Leica มาช่วยพัฒนา
- Moto Z ที่ชูจุดเด่นเรื่องอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มากมาย
- Asus Zenfone 3 Deluxe ที่สเป็คก็ค่อนข้างจัดเต็มเหมือนกัน
- Samsung Galaxy S7 ที่ถ่ายรูปออกมาได้สวยงามแถมยังกันน้ำเหมือน Xperia
และตอนนี้ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างแว่ว ๆ ว่ามีดีลเลอร์รายหนึ่งจะเอา LG
V20 เข้ามาขายในไทยด้วยราคาที่ใกล้เคียงกันด้วยซึ่ง ณ ตอนนี้ Xperia XZ
ก็ถือว่าไม่ได้เป็นรองใครตามที่กล่าวมา
ถ้าคุณต้องการสมาร์ทโฟนที่ระบบเสถียร ไม่ลอยแพ งานประกอบดี
ไม่ค่อยมีปัญหาจุกจิก กันน้ำ จอสวยกำลังดีสีไม่สดจนเกินไป
กล้องดีมีลูกเล่นให้ปรับพอประมาณ
ถ่ายวิดีโอได้ระดับเทพและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ลองรับ Xperia XZ
ไปพิจารณาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดูครับ